เครื่องปั๊มน้ำนม ตัวช่วยทุ่นแรงคุณแม่ให้มีเวลาเพิ่มขึ้นและหายกังวลเมื่อต้องอกไปทำงานซึ่งมีให้เลือกหลายประเภท ขึ้นอยู่กับความต้องการ สำหรับคุณแม่ที่มีเวลาว่างเครื่องปั๊มนมยังจำเป็นอยู่หรือไม่ พร้อมเคล็ดการเก็บรักษานมแม่อย่างถูกวิธีและสิ่งที่ควรรู้ก่อนสายกับ 6 โรคที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้นมบุตรโดยตนเอง
เลือกหัวข้อที่สนใจ
เครื่องปั๊มน้ำนมมีประโยชน์อย่างไร
เครื่องปั๊มนมเป็นเครื่องมือทางการแพทย์ที่ได้รับการพัฒนาด้วเทคโนโลยีที่นำมาประยุกต์ใช้แก้ปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ซึ่งมีประโยชน์ ดังนี้
- นมแม่มีสารอาหารอาหารครบถ้วนและมีฮอร์โมนที่จำเป็นเหมาะต่อการเจริญเติบโตของทารก
- นมแม่ช่วยให้ดูดซึมได้ง่ายทำให้เด็กขับถ่ายได้ดีและลดอาการท้องอืด
- นมแม่มีภูมิต้านทานโรคโดยเฉพาะในช่วงแรกหลังคลอด
- นมแม่ช่วยป้องกันการแพ้โปรตีนและป้องกันโรคภูมิแพ้ รวมถึงลดอาการผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้และหอบหืด
- น้ำนมแม่กรดไขมัน DHA ที่จำเป็นช่วยให้เสริมพัฒนาการสมองและระบบประสาททำงานได้ดี
- นมแม่ยังช่วยเพิ่มความอบอุ่นทางจิตใจให้แก่เด็กส่งผลให้สภาวะจิตใจปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดีมากขึ้นและสร้างสายใยสัมพันธ์ให้เด็กรู้สึกอบอุ่นปลอดภัย
เคล็ดลับการใช้เครื่องปั๊มนมแต่ละประเภท
ในปัจจุบันเราสามารถแบ่งประเภทตามการใช้งานของเครื่องปั๊มนมได้ 2 แบบ คือแบบไฟฟ้าและแบบใช้มือ
- แบบใช้มือปั๊ม
ซึ่งคุณแม่ควรเริ่มต้นจากการล้างมือและขวดนมให้สะอาด แล้วเริ่มนวดหน้าอก หรือใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบเต้านมเพื่อช่วยกระตุ้นการไหลของน้ำนม จากนั้นให้นั่งลงแล้วเอนตัวไปข้างหน้า แล้ววางนิ้วโป้งเหนือหัวนม นิ้วชี้ใต้ราวนมซึ่งควรห่างจากกันประมาณ 1 นิ้ว (มือจะอยู่ในลักษณะตัว C) โดยเริ่มจากกดนิ้วทั้งสองลงพร้อมกันช้า ๆ เพื่อบีบน้ำนมออกซึ่งหากไม่ค่อยออกให้ค่อย ๆ ปรับทิศทางจนน้ำนมไหลออกมาอย่างต่อเนื่อง จากนั้นให้เปลี่ยนบริเวณที่บีบไปยังบริเวณรอบ ๆ ลานนมเพื่อไม่ให้รู้สึกเจ็บและเมื่อเสร้จสิ้นให้เก็บน้ำนมไว้ในบรรจุภัณฑ์ หรือขวดนมที่สะอาด
- แบบใช้ไฟฟ้า
ให้เริ่มต้นจากการล้างมือเพื่อหยิบอุปกรณ์ปั๊มนมและขวดนมให้สะอาด นำกรวยมาวางให้อยู่ตรงกลางหัวนมเพื่อทำการปั๊มนมโดยใช้มือประคองเต้านมด้วยมือเดียวซึ่งให้นิ้วโป้งอยู่ด้านบนส่วนนิ้วที่เหลืออยู่ใต้เต้านม (ระมัดระวังอย่าออกแรงดันหัวนมกับกรวยเต้านมมากเกินไปเพราะอาจทำให้เกิดรอยแผลเป็นได้) จากนั้นให้ปรับความเร็วและอัตราการปั๊มตามคู่มือการใช้งานซึ่งแต่ละครั้งจะใช้เวลาปั๊มประมาณ 15 – 20 นาทีเมื่อครบเวลาให้นำกรวยออกจากเต้านมและนำนมที่ปั๊มไปเก็บแช่เย็นไว้ทันทีเพื่อรักษาคุณภาพน้ำนม
หากมีเวลาว่าง จำเป็นต้องใช้เครื่องปั๊มน้ำนมหรือไม่
จำเป็น เพราบางครั้งในบางช่วงคุณแม่จะมีปริมาณนมไหลน้อย การมีเครื่องปั๊มน้ำนมจึงเปรียบเสมือนตัวช่วยในการกระตุ้นน้ำนมเพื่อให้มีปริมาณน้ำนมไหลเพิ่มขึ้นเพื่อเก็บสำรองนมไว้ในการนำไปใช้ให้เพียงพอต่อลูกน้อย
โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมในการใช้เครื่องปั๊มน้ำนมควรเริ่มตั้งแต่ 24 – 72 ชั่วโมงหลังคลอดซึ่งน้ำนมที่ผลิตออกมาจะเป็นน้ำนมสีเหลือง ที่เรียกกันว่า “หัวน้ำนม” (Colostrum) ซึ่งจะมีสีเหลืองและข้นกว่าน้ำนมปกติทำให้คุณแม่ที่ปั๊มนมยากสามารถมีน้ำนมไหลเพิ่มขึ้น
เก็บรักษานมแม่อย่างไรให้ถูกต้อง
ต่อมาเป็นวิธีการเก็บรักษานมแม่เพื่อเพิ่มคุณภาพน้ำนม ยืดอายุการใช้งาน โดยควรจัดเก็บในลักษณะ ดังต่อไปนี้
- ควรเก็บในอุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียสโดยเก็บรักษาได้ไม่เกิน 6 ชั่วโมง
- สำหรับกระเป๋าที่มีถุงน้ำแข็งซึ่งเก็บรักษาได้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง
- สำหรับการแช่ในตู้เย็นปกติเก็บรักษาได้ประมาณ 3 – 8 วัน
- สำหรับการเก็บในช่องแช่แข็งได้ไม่เกิน 6 เดือน
แต่ทั้งการเก็บในช่องแช่แข็งอาจทำให้สารภูมิคุ้มกัน หรือแอนติบอดี้ที่นมถูกทำลายได้จึงควรหลีกเลี่ยงการแช่แข็ง หากไม่จำเป็น แต่เด็กก็ยังสามารถทานได้ปกติซึ่งยังคงมีคุณค่าด้านสารอาหารซึ่งควรนำนมแช่แข็งมาแกว่งด้วยน้ำอุ่นเบาและไม่ควรใช้น้ำร้อนจัด (เลี่ยงการเสียคุณค่าทางอาหารและโภชนาการ)
6 โรคที่ควรหลีกเลี่ยงการให้นมบุตร
เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกน้อยคุณแม่ควรทราบถึงหลักการในการให้นมลูกอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีโรคประจำตัวต่าง ๆ ซึ่งไม่สามารถให้นมลูกได้ด้วยตนเองโดยมี 6 โรคที่ห้ามให้นมลูกอย่างเด็ดขาด ได้แก่ โรคติดเชื้อ HIV โรคติดเชื้อ HTLV1 โรคติดเชื้อไวรัสอักเสบ A และ B โรคติดเชื้อ CMV โรค SLE และวัณโรคซึ่งสามารถเปลี่ยนไปให้นมบุตรด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การให้นมผง หรือวิธีการอื่น ๆ ตามการให้คำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
จะเห็นได้ว่านมแม่มีประโยชน์ต่อลูกน้อยเป็นอย่างมากซึ่งคุณแม่หลายท่านมีปัญหาการให้นมบุตรเนื่องจากปริมาณนมไม่เพียงพอ การมีเครื่องปั๊มน้ำนมเสมือนว่ามีตัวช่วย แต่ถึงอย่างไร พ่อแม่ก็ควรมีการเตรียมตัว วางแผนและทำความเข้าใจถึงเกี่ยวกับการให้นมบุตรหลังคลอดและในคุณแม่ที่มีความเสี่ยงในกลุ่มโรคต่าง ๆ การหลีกเลี่ยงให้นมบุตรจะช่วยให้ลูกน้อยมีสุขภาพที่ดีและปลอดภัย